6 เมษายน 2560

【คอลัมน์พิเศษ】 ฟลอรูลครับ, ยินดีที่ได้รู้จัก. (บทที่1)

แปลจากคอลัมน์ในเวบไซท์บูชิโรด : http://bushiroad.com/extra/column_floarrule01.html
💬 คือ คห.จากผู้แปล
=====================================================

ยินดีที่ได้รู้จักครับทุกคน โพลิPจากบูชิโร้ดครับ!
เข้าทำงานที่บูชิโร้ดมาตั้งแต่ปี 2009 ตอนนี้ก็เกือบๆจะ 8 ปีเต็มแล้ว ปัจจุบันเป็นผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนาTCG [ไวส์ชวาส] ครับ
ปี 2017 นี้ก็ขอฝากTCGของบูชิโร้ดด้วยนะครับ!

เอาล่ะครับถึงจะกระทันหันไปนิด แต่ก็อยากมาเล่าเรื่องสั้นๆเข้าใจง่ายๆให้ฟัง เลยเขียนคอลัมน์หัวข้อ [ฟลอรูลครับ, ยินดีที่ได้รู้จัก] ขึ้นมาครับ

สิ่งที่เรียกว่า[ฟลอรูล]ก็คือ ข้อตกลงในการจัดหรือเข้าร่วมในการแข่งขันนั่นเอง ที่บูชิโร้ดนี้จะใช้อยู่ 2 อย่างคือ [ฟลอรูลพื้นฐาน] ที่รวมพอยต์หลักๆเอาไว้ กับ [ฟลอรูลประยุกต์] ที่มีเนื้อหาละเอียดและเจาะจงมากขึ้น

ก็คิดว่าคงมีคนที่คิดว่า [เพิ่งเคยได้ยินเนี่ยแหละ!] หรือไม่ก็ [ไม่เคยเห็นเลยอะ?] อยู่ไม่น้อย
ก็เพราะว่ามี เรื่องแบบนี้ก็มีนะ, อยากให้รู้เรื่องแบบนี้เอาไว้หน่อย, หรืออะไรทำนองนี้ ถ้าได้ลองมาอ่านฟลอรูลพื้นฐานกันดูก็จะยินดีมากๆครับ!

คอลัมน์นี้จะนำเสนอ เกี่ยวกับเนื้อหาการปรับปรุง และเป้าหมายของฟลอรูลประยุกต์ของบูชิโร้ดที่ได้รับการปรับปรุงเมื่อวันที่ 25 มกราคมครับ
ส่วนที่น่าเข้าใจยากก็พยายามใช้ใจเขียนให้เข้าใจได้ง่ายๆแล้ว คิดว่าทั้งคนที่เคยและไม่เคยอ่านฟลอรูลประยุกต์มาก่อน, จะตั้งใจอ่านหรือชิวๆไปอ่านไปก็ OK ครับ! ทำตัวตามสบายแล้วมาดูกันเลย
* * * * *

★ของที่พกมาเอง

หัวข้อแรกสุดก็คือ [ของที่พกมาเอง] ครับ!
ใน TCG ต่างๆ เช่นแวนการ์ดก็มีการใช้กันมั่งไม่ใช้มั่งกันอยู่บ้าง, หรือท่านที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้วก็คงมีสินะครับ!
ของที่พกมาเองก็คือ, เครื่องหมายที่ทำให้การแข่งขันเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ
ทั้งนี้ท่านที่ใช้ศัพท์เฉพาะว่า [โทคเค่น] ก็มีอยู่บ้าง, แต่ในฟลอรูลนี้จะใช้คำว่า [ของที่พกมาเองสำหรับการแข่งขัน] เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย, และจะเรียกว่า [ของที่พกมาเอง] ในบทความต่อจากนี้ครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไอเทมต่างหาก
เพื่อให้การแข่งเป็นไปอย่างราบรื่นเป็นจุดประสงค์หลัก ผู้เล่นสามารถใช้ของที่พกมาเองได้. จุดประสงค์ในการใช้ของที่พกมาเองก็คือทำให้การระบุจำนวน, การเปลี่ยนแปลงของจำนวน, หรือระบุเป้าหมาย ที่สำคัญต่อการแข่งขันสามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น.
แต่การมาร์คตำแหน่งการวางการ์ดบางใบ, แสดงจำนวนใบ, หรืออะไรที่นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น จะไม่อนุญาติให้ใช้ของที่พกมาเองได้.

ของที่พกมาเองที่อนุญาติให้ใช้ได้ก็คือ เม็ดโทคเค่น, ลูกเต๋า, ไฟทเตอร์เคาทเตอร์, ไลฟ์เคาทเตอร์, ฯลฯ ที่ถ้าเผลอไปแตะ, โดนแรงสั่นสะเทือน แล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านจำนวน.
กรณีที่ของลูกเต๋าควรใช้ลูกเต๋า 6 หน้าที่หน้าเรียบเสมอกัน. ลูกเต๋าที่มีมากกว่า 6 หรือลูกเต๋า6หน้าที่รูปร่างใกล้เคียงทรงกลมหรือหน้าไม่เรียบนั้นไม่แนะนำให้ใช้.กรณีที่ของลูกเต๋าควรใช้ลูกเต๋า 6 หน้าที่หน้าเรียบเสมอกัน. ลูกเต๋าที่มีมากกว่า 6 หรือลูกเต๋า6หน้าที่รูปร่างใกล้เคียงทรงกลมหรือหน้าไม่เรียบนั้นไม่แนะนำให้ใช้.

ในงานแข่งเป็นทางการ สิ่งของที่ไม่ตรงกับข้อความต่อไปนี้ไม่สามารถใช้ได้ตามกฏ. แต่การแข่งย่อยบางที่อาจจะได้รับอนุญาติให้ใช้ได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้คุมหรือเฮ้ดจัดจ์ในการตัดสินใจ.
● สิ่งของที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ เช่นโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่มีฟังก์ชั่นข้างต้น
● สิ่งของที่มีขนาดใหญ่เกินไป ที่อาจทำให้การแข่งขันติดขัด หรือรบกวนการแข่งขันคู่อื่นๆ
● เหรียญเงิน ธนบัตร หรือสิ่งที่ใกล้เคียงกัน
● อื่นๆ , ในกรณีที่อาจไปรบกวนการแข่ง หรือมีโอกาสใช้ในการเล่นโกงได้, แล้วแต่ผู้คุมหรือเฮ้ดจัดจ์ในการตัดสินใจ

※เนื้อหาอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการปรับปรุง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

「ให้เพาเวอร์+5000」
「ให้คริติคอล+1」
「ผลจากความสามารถ ทำให้มีความสามารถเพิ่มมาอีกอัน」
「แสดงไลฟ์ของตัวเองเป็นตัวเลข」

เรื่องพวกนี้ ถ้าอยากจะให้มองแว่บเดียวแล้วรู้เรื่อง...! ไม่ลืมง่ายๆล่ะก็...!
――สิ่งที่จะเอามาช่วยในกรณีนี้ก็คือ [ของที่พกมาเอง] ครับ!


อะไรราวๆนี้, วางไว้บนการ์ดหรือตรงจุดที่เข้าใจได้ง่ายๆกันนะครับ
กรณีที่ใช้สมาร์ทโฟนหรือเกมมือถือในการแสดงผลไลฟ์นั้น ให้ตั้งโหมดของเครื่องเป็นปิดการสื่อสาร, ส่งข้อมูลด้วยนะครับ!

แต่ทั้งนี้, ยังไงก็ตามของที่พกมาเองก็เป็นสิ่งที่มีเป้าหมายในการทำให้การแข่งเป็นไปได้อย่างราบรื่น,ก็ใช้กันแบบไม่ให้ไปรบกวนการแข่งนะครับ!

แน่นอนว่าไม่ได้บังคับให้ใช้ของที่พกมาเองเสมอไป! ถ้าตั้งใจสื่อสารกันให้ดีแล้วล่ะก็ ผู้เล่นทั้งคู่ก็สามารถเข้าใจกันได้ดีอยู่แล้วครับ หรือจะใช้ของเฉพาะหน้าเวลาที่คำนวนได้ยากหรือสถานการณ์สำคัญจริงๆก็ไม่มีปัญหาครับ!

* * * * *

★[การสับเด็ค]

หัวข้อต่อไปคือ[การสับเด็ค]ที่ทุกคนคุ้นเคยครับ!
ไม่ว่าจะ TCG อะไรก็ต้องใช้ตลอด เลยอยากให้ใส่ใจกันเป็นพิเศษนะครับ!
ก่อนอื่นก็ขออธิบายรายละเอียดของกฏการสับเด็คที่ปรับปรุงแล้วให้ฟังครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
[การสับเด็ค] (การแตกการ์ด)

   เพื่อให้การ์ดในเด็คมีการสุ่มที่สมบูรณ์(ไม่มีการเรียงการ์ด) การสับเด็คจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้.
และเพื่อเป็นเครื่องยืนยันความบริสุทธิ์ใจ ไฟทเตอร์จำเป็นต้องถือเด็คไว้ในตำแหน่งที่ทั้งคู่สามารถมองเห็น, และไม่สามารถเห็นด้านหน้าของการ์ดได้ขณะสับเด็ค

   หลังจากไฟทเตอร์ทุกคนสับเด็คเสร็จแล้ว จะต้องส่งให้ฝ่ายตรงข้ามตัด หรือสับเด็คอีกครั้งเพื่อยืนยัน
ณ เวลานั้น กรณีที่จำนวนการ์ดในเด็คเหลือน้อยมากๆ, ถ้าตัดหรือสับแล้วดูเหมือนมีจะการเล่นลูกเล่นอะไรได้ ก็สามารถใช้จัดจ์มาตัดหรือสับเด็คแทนฝ่ายตรงข้ามได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของจัดจ์ด้วย

   การตัดหรือสับเด็คเพื่อยืนยันนั้นไม่ได้มีเป้าหมายในการแตกการ์ด เพราะฉะนั้นควรทำแบบง่ายๆไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานเท่าการสับเด็คเพื่อแตกการ์ด
ลำดับในการสับเด็คนั้นไฟทเตอร์จะเป็นคนตัดสินใจเอง แต่ก็ขอแนะนำวิธีการสับเด็คที่จะต่อไปนี้ ให้นำไปใช้หรือไปประยุกต์กับแบบอื่นๆ. โดยเฉพาะการสับเด็คก่อนการแข่ง, หรือการสับเด็คที่แทบจะรู้ลำดับการ์ดในเด็คทั้งหมดแล้ว

[ฮินดูชัฟเฟิล]
   การตัดแบบนำรวบการ์ดเป็นปึกจากล่างไปไว้บนกอง ใน1เซ็ทจะทำการสลับหลายครั้ง สามารถใช้เป็นการสับเด็คก่อนหรือหลังการสับเด็คแบบอื่นที่จะนำเสนอต่อจากนี้ได้ หรือใช้เป็นการสับเด็คแทนการตัดแทนก็ได้
💬Note: ชื่อฟังดูไม่ค่อยชินหูคนไทยเท่าไหร่ แต่มันเรียกแบบนี้จริงๆครับ..

[ดีลชัฟเฟิล]
   การตัดแบบนำการ์ดทีละใบมาเรียงเป็นหลายๆกองแล้วนำกลับมารวมกันใหม่ (💬Note: บ้านเราเรียก DCI) เนื่องจากสามารถตรวจสอบจำนวนการ์ดในเด็คได้ด้วย จึงเป็นวิธีสับเด็คที่อนุญาติให้ใช้ได้ก่อนงานแข่ง กองที่เรียงแยกออกมานั้น จะเป็น 5 กอง 7 กอง, หรืออื่นๆก็สามารถทำได้
กรณีที่มีการ์ดพิเศษเรียงติดกันอยู่ก่อนสับเด็ค การสับแบบนี้ไม่สามารถแตกการ์ดเหล่านั้นออกมาได้และจะยังคงเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ทำให้การสับเด็คไม่มีความหมาย จึงไม่ควรใช้การสับเด็คแบบนี้ในกรณีนั้นครับ
การสับเด็คเพื่อยืนยันก็ไม่อนุญาติให้ใช้วิธีนี้กับเด็คของฝ่ายตรงข้าม
(💬Note: เพราะนาน)
💬Note: การ์ดพิเศษที่ว่านี่คือการ์ดพวกทริกเกอร์, ไคลแมกซ์ ที่มีผลเวลาจั่วหรือเปิดได้ การที่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบอาจทำให้ผู้เล่นสามารถคาดเดาจังหวะออกได้ครับ
[ฟาโร่ชัฟเฟิล]
   การตัดแบบแบ่งการ์ดออกเป็นสองกองเท่าๆกันและนำมาสอดเข้าหากัน สามารถทำได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าทำโดยที่ไม่ชิน หรือรุนแรง สลีฟหรือตัวการ์ดอาจได้รับความเสียหายได้ จึงไม่ควรทำกับเด็คของฝ่ายตรงข้ามถ้าไม่ได้รับอนุญาติ
การตัดการ์ดแบบนี้ถ้าทำในองศาที่สูงเกินไปจะทำให้เห็นหน้าการ์ดได้ จึงควรระวังและทำในองศาที่พอดีๆ
💬Note: ทีแรกผมคิดว่าอ่านว่าฟอลโล่ชัฟเฟิล แต่หาข้อมูลดูแล้วอ่านว่าฟาโร่ตรงตัวครับ

※เนื้อหาอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการปรับปรุง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สิ่งที่อยากให้ทุกคนใส่ใจเกียวกับการชัฟเฟิลมีอยู่ 2 ข้อครับ!

1)ไม่มีการ์ดพิเศษอยู่ ・・・← แบบนี้ไม่ใช่การชัฟเฟิลแล้ว! (💬Note: น่าจะหมายถึงพวกการ์ดที่ใส่สลีฟไม่เหมือนใบอื่น เช่น FV สมัยยังไม่มีระบบ Legion)
2)การชัฟเฟิลเด็คของตัวเองนั้นเป็นหน้าที่ของตัวเอง! ไม่ใช่ฝ่ายตรงข้าม!

[อยากให้ไคลแมกซ์กระจายๆจังน้า...]
[ถ้าไปเสียบอยู่ใต้พาร์ทเนอร์ก็ใช้ไม่ได้แล้วล่ะน้า...]
การเปลี่ยนกระแสของไฟท์ด้วยการจั่วนั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ การได้ลุ้นตรงนั้นก็เป็นความสนุกอย่างหนึ่งของไฟท์ครับ เพราะอย่างนั้นการคิดแบบนั้นระหว่างสับเด็คไปด้วยก็คงจะเป็นเรื่องปกติ
แต่ทว่าการทำให้เป็นจริงๆโดยการจงใจสับเด็คให้เป็นแบบนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำครับ
การจั่วการ์ดก็คือการได้ลุ้นกับสิ่งไม่คาดคิดที่สามารถเกิดได้ตลอดครับ

เป้าหมายของการสับเด็คด้วยตัวเองนั้นก็คือ การทำให้การ์ดมีการสุ่มที่สมบูรณ์(ไม่มีการเรียงการ์ด)
นั่นก็คือ, [ไม่สามารถรู้ได้ว่าการ์ดใบไหนอยู่ตรงไหน] นั่นเองครับ

[ไคลแมกซ์น่าจะกระจายๆกันกำลังดีนะ]
[โอกาสที่ทริกเกอร์จะเรียงติดกันหลายๆใบน่าจะสูง]

เด็คที่สามารถคิดแบบนี้ได้นั้นจะเรียกว่ามีการสุ่มที่ดีคงไม่ได้
เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถไฟท์กันได้แบบยุติธรรม การสับเด็คอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญครับ

* * * * *

ถ้าพูดถึงเคสที่เกิดขึ้นได้บ่อย ก็ขอยกตัวอย่างเด็คยังคงมีการเรียงของการ์ดอยู่ 2 ประเภท

จากสภาพที่ทริกเกอร์ยูนิต (การ์ดสีดำ) 16 ใบเรียงติดกัน ทำการดีลชัฟเฟิล (7กอง), จากนั้นก็ทำการฮินดูชัฟเฟิลอีกครั้ง จะออกมาได้ดังนี้
[1)ลำดับการเรียงก่อนการชัฟเฟิล]
[2)หลังจากดีล(7กอง)]
[3)หลังฮินดูอีกพอสมควร]

ทริกเกอร์ยูนิตยังเรียงติดกันอยู่, การ์ดสีฟ้าและเขียวก็ยังติดกันทีละ 2-3 ใบ ค่อนข้างดูเป็นระเบียบมาก
การดีลชัฟเฟิลทั้งๆที่การ์ดพิเศษยังเรียงติดกันจะทำให้ยังมีการเรียงของการ์ดอยู่ ซึ่งเป็นการสับเด็คที่ไร้ค่าและเสียเวลาไปเปล่าๆ
ในกรณีนี้ ก่อนที่จะทำการดีลชัฟเฟิลควรจะใช้การสับเด็คแบบอื่นก่อนร่วมกัน ให้การ์ดเริ่มผสมกันระดับหนึ่งก่อน
ยิ่งมีการกระจายกันก่อนสับเด็คมีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้มีความไร้ระเบียบมากขึ้นเท่านั้น
ระหว่างการสับเด็คก่อนการก็แข่งลองเอาใจใส่กันซักนิดนะครับ!

ตัวอย่างต่อมา,  จากสภาพไคลแมกซ์การ์ด (การ์ดสีดำ) 8 ใบกระจายกันอย่างเป็นสัดส่วน, หลังจากการฮินดูชัฟเฟิลเพียงอย่างเดียว ผลที่ออกมาจะเป็นรูปแบบนี้ครับ


[1)ลำดับการเรียงก่อนการชัฟเฟิล]
[2)หลังฮินดู2เซ็ท]
[3)หลังฮินดู6เซ็ท]

หลังจากการฮินดูชัฟเฟิลไป 2 เซ็ท รูปแบบการกระจายแทบไม่เปลี่ยนแปลง
ผลของการตัดแบบฮินดูชัฟเฟิลนั้นจะทำให้มีโอกาสออกมาในรูปแบบนี้
ถึงจะลองสลับดูอีกหลายๆครั้ง ก็ยังคงไม่สามารถทำให้อยู่ในสภาพไร้ระเบียบได้

ตรงจุดนี้คือ [ฮินดูชัฟเฟิลเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้การ์ดผสมปนเปกัน], ที่แนะนำให้ใช้การสับเด็ควิธีอื่นควบคู่กันไปด้วยก็เพราะเหตุนี้ครับ
ขอให้คิดเอาไว้ว่ามันเป็นการสับเด็คครั้งแรกเพื่อให้มีกระจายก่อน ก่อนที่จะใช้ดีลชัฟเฟิลหรือฟาโร่ชัฟเฟิลเข้ามาผสมต่อไป

ฟาโร่ชัฟเฟิลนั้นเป็นการชัฟเฟิลที่สะดวกและทำได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าฝืนจับมาสอดเข้าหากันก็อาจทำให้สลีฟเกิดความเสียหายได้ ก็ขอให้ทำอย่างระมัดระวังกันนะครับ
นอกจากนี้, การนำเด็คออกมาตะแคงจะทำให้โดนเห็นการ์ดที่เรียงอยู่ในเด็คได้ ก็ขอให้ทำในองศาที่พอเหมาะนะครับ!

นอกจากนี้, ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าสภาพก่อนการสับเด็คไม่มีระเบียบอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้เกิดการสุ่มได้มากขึ้นและใช้เวลาน้อยลงครับ
* * * * *

ในช่วงนี้, โดยเฉพาะในการแข่งคัดตัวแทนระดับประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้จัดจ์สามารถตัดสินได้อย่างง่ายและถูกต้องมากขึ้น ครั้งนี้จึงขอเพิ่มข้อกำหนดดังต่อไปนี้เข้ามาด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทลงโทษเกี่ยวกับการสลับตำแหน่ง

〓บทลงโทษโดยทั่วไป〓
เลเวล1: ไม่มีการลงโทษ, เตือนด้วยปากเปล่า
เลเวล2ขึ้นไป: ตักเตือน (Warning)

●ส่วนของก่อนหรือระหว่างการชัฟเฟิล
[การเรียงทริกเกอร์ยูนิตให้เป็นระเบียบก่อนการชัฟเฟิล]
[มีการดูการ์ดระหว่างที่สับเด็ค, มีการจงใจเรียงลำดับของพาร์ทเนอร์การ์ดที่ติดกันให้กระจาย]

●ส่วนของกองการ์ดที่ใช้ไปแล้ว (เป้าหมาย : [ลัคโลจิค] หรือ [ไวส์ชวาส])
[การเรียงการ์ดพาราดอกซ์ในโซนดรอปให้เป็นระเบียบ]
[การเรียงไคลแมกซ์ในห้องพักให้เป็นระเบียบ]

   ตัวอย่างข้างต้นถือว่าเป็นการสลับตำแหน่งเพื่อเรียงการ์ด, ถือว่าเป็นการจงใจเล่นโกง หรือมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการโกง, จึงไม่สามารถทำได้
💬Note: อ่าว ผมทำบ่อยด้วยสิ ; _ ;

   การสลับตำแหน่งการ์ดในมือไม่ถือรวมอยู่ในบทความข้างต้น จึงไม่ถือว่าเป็นการผิดกฏในส่วนนี้

※เนื้อหาอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการปรับปรุง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อบังคับนี้เกี่ยวกับลำดับของการ์ดที่จะถูกสับเข้าเด็ค มีไว้เพื่อไม่ให้มีการเรียงการ์ดก่อนการสับเด็ค
ทั้งนี้, ถ้ามีการสับเด็คทั้งๆที่มีการเรียงการ์ดอยู่ก็อาจทำให้การโกง เช่นการสับเปลี่ยนการ์ด สามารถทำได้ง่าย
ซึ่งควรมีการป้องกันเพื่อไม่ให้โดนเล่นโกง หรือถูกสงสัยว่าโกงครับ

แต่ถึงอย่างนั้น การที่ถูกห้ามทำนู่นทำนี่ ทำแบบนั้นก็ไม่ได้แบบนี้ก็ไม่ได้ ส่วนนึงก็จะทำให้ความสนุกของการได้แข่งขันถูกจำกัดให้แคบลงเช่นกัน
เพื่อการนั้นข้อบังคับนี้, ในการแข่งเพื่อหาตัวแทนระดับประเทศหรือใกล้เคียงก็ดี การหย่อนยานกฏหรือปรับปรุงข้อบังคับก็ยังมีความจำเป็นอยู่บ้าง

●ส่วนของก่อนหรือระหว่างการสับเด็ค
เจอไคลแมกซ์เรียงติดกันระหว่างเซิร์จเด็ค!
[อยากกระจายส่วนตรงนี้จัง...] ---ก็เข้าใจความรู้สึกนั้นนะครับ
แต่ว่าถ้าทำแบบนั้นก็จะถือเป็นการจงใจเรียงการ์ดในกอง ดั้งนั้นการสลับตำแหน่งการ์ดที่ไม่จำเป็นจึงควรหลีกเลี่ยงครับ
💬Note: อ่าว อันนี้ก็ทำบ่อย ; _ ;

[ขอเลือกการ์ดใบนี้ครับ ----อ๊ะ แต่ว่าใบนี้แหละดีแล้ว!]
ถ้าเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นก็จะมีการ์ดมากกว่า 1 ใบถูกนำออกมาจากเด็ค ตรงนี้ถึงข้อบังคับก็ไม่ได้ครอบคลุมเอาไว้โดยตรง แต่การชัฟเฟิลกลับเข้าไปในกองหลังจากนั้นก็ต้องมีการกระจายการ์ดกองเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการนำการ์ดจำนวนมากๆออกมาแล้วเรียงเข้าไปใหม่ครับ

●ส่วนของกองการ์ดที่ใช้ไปแล้ว
ถึงการนำการ์ดพิเศษมากองรวมๆกันจะทำให้สามารถตรวจนับจำนวนได้ง่ายก็ตาม แต่เมื่อต้องชัฟเฟิลการ์ดเหล่านั้นให้กระจายเข้าไปในเด็คก็จำเป็นต้องใช้เวลามากขึ้น
เพราะเหตุนี้จึงมีเป้าหมายที่TCGที่มีการรีเฟรชอย่างเช่น [ลัคโลจิค] หรือ [ไวส์ชวาส]

* * * * *

พอยต์ที่สองก็คือ [การสับเด็คของตัวเองให้ละเอียด เป็นหน้าที่ของตัวเราเอง!]

หลังจากสับเด็คของตัวเองแล้วก็ส่งให้ฝ่ายตรงข้ามยืนยันด้วยการคัทหรือสับ คือลำดับของการสับเด็คครับ

หลังจากได้รับเด็คจากฝ่ายตรงข้ามแล้ว
[อีกฝ่ายสับไม่ค่อยละเอียดเลย เราสับเองอีกหน่อยแล้วกัน]
[ยังไงก็ยังรู้สึกไม่สบายใจ ขอดีลชัฟเฟิลอีกทีแล้วกัน]
ท่านที่คิดแบบนี้ ขอให้หยุดเอาไว้แล้วอ่านต่อไปก่อนครับ!

เด็คที่ได้รับมาจากฝ่ายตรงข้ามนั่นถือว่ามีการสุ่มที่เรียบร้อยแล้วครับ!
เพราะอย่างนั้น การเสียเวลาเพื่อกระจายการ์ดอีกนั้นไม่จำเป็น!

แต่ถ้ารู้สึกว่าการสับเด็คของอีกฝ่ายยังไม่เพียงพอ อยากได้ความร่วมมือเพิ่ม
ก็ลองถามว่า[ช่วยสับให้อีกนิดได้มั้ยครับ....!]
หรือถ้าจัดจ์ผ่านมาเห็น ก็อาจมีกรณีที่ขอความร่วมมือระหว่างไฟท์
โดยการบอกว่า [พอดีเห็นว่าเด็คยังไม่ได้รับการสับทีเพียงพอ ช่วยสับเด็คเพิ่มให้อีกซักหน่อยได้มั้ยครับ] บ้างก็ได้
ในกรณีนั้นก็รบกวนทำการสับเด็คเพิ่มด้วยครับ

ด้วยเหตุนี้, ทำไมเราจึงต้องคัทหรือสับเด็คเพื่อยืนยันด้วย?
[เพื่อป้องกันการโกง] หรือเหตุผลอื่นๆก็มีส่วน แต่สำหรับผมมันคือ [การทักทาย] หรือให้ถือว่าเป็น [คอมมิวนิเคชั่น] ก็ได้ครับ

ส่งเด็คตัวเองที่สับแล้วให้ฝ่ายตรงข้ามและบอกว่า [รบกวนด้วยครับ], ได้รับคำตอบว่า [ครับ] , เมื่ออีกฝ่ายตัดเด็คเสร็จและส่งกลับมาพร้อมบอกว่า [เชิญครับ] , ก็ตอบกลับไปว่า [ขอบคุณครับ]
การสนทนาก็ดี การวางการ์ดก็ดี, ทั้งทำให้ดูสมกับเป็นการ์ดเกมอนาลอค อีกทั้งยังดูเป็นเครื่องหมายแห่งความเชื่อใจของทั้งสองฝ่ายอีกด้วย!

* * * * *

------- เป็นยังไงกันบ้างครับ?

หลังจากนี้จะมีการอัพเดทแบบนี้อีกทั้งหมด 3 ครั้งครับ!
ถึงเนื้อหาค่อนข้างมาก แต่ก็จะพยายามสื่อออกมาให้เข้าใจได้ง่ายครับ เพราะฉนั้นก็ช่วยติดตามการปรับปรุงหลังวันที่ 25 มกรากันต่อไปนะครับ!

ขอบคุณที่ติดตามอ่าน [ฟลอรูลครับ, ยินดีที่ได้รู้จัก (บทที่1)] ครับ!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น